เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ได้มีประกาศจาก เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เรียกเก็บภาษีจากแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น Facebook, Google, Netflix, App Store, Spotify และ Youtube เป็นต้น มีผลเริ่มบังคับใช้ 1 กันยายน 2564 นี้
ทำไมต้องเรียกเก็บภาษีจากเจ้าพ่อแพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้?
ปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยใช้บริการแอพพลิเคชั่นและโซเชียลเหล่านี้เป็นจำนวนมาก
“โดยเฉพาะเฟสบุ๊ค ที่ได้เงินสูงสุดมากถึง 7,000 ล้านบาทจากการประมาณของสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย”
ฟังดูเหมือนเยอะมากแต่ไทยกลับไม่ได้ประโยชน์จากตรงนี้เลย เพราะเม็ดเงินเหล่านั้นกลับคืนสู่ประเทศเจ้าของแพลตฟอร์มนั้น นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะ “ภาษีธุรกิจบริการดิจิทัล” มีหลายประเทศเริ่มใช้กันแล้วยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ อเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ออสเตรีย เบลเยียม เป็นต้น
ข้อดีจาก ‘กม.เก็บภาษีอีเซอร์วิส’
- 1.ทำให้ประเทศไทยมีรายได้มากขึ้น
- 2.ลดการแข่งขันในตลาดไทย
- 3.บริษัทไอทีในไทยได้เปรียบด้านกำแพงภาษี
ข้อเสียจาก ‘กม.เก็บภาษีอีเซอร์วิส’
- 1.ผู้ให้บริการมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทำให้กำไรลดน้อยลงอาจจะส่งผลให้งบการตลาดลดลงไปด้วย
- 2.เมื่อไม่มีงบทางการตลาดอาจจะทำให้ยอดใช้บริการลดตามไปด้วย
- 3.บางบริษัทอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มค่าใช้บริการส่งผลถึงผู้ใช้งาน
กฎหมายภาษี E-Service
เรียกเก็บภาษีโดยคำนวณจาก “ภาษีขาย” ไม่ได้หักจาก “ภาษีซื้อ”ผู้ให้บริการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมือมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากยอดขาย
ในส่วนของผู้ใช้บริการอย่างเราคงต้องรอดูว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในอนาคต อย่าลืมติดตามข่าวสารแล้วปรับตัวไปพร้อมกันนะคะ
อ้างอิง: iTAX, Thairath
#JinnyMarketing #JinnyMarketingNEWS #การตลาดออนไลน์ #กลยุทธ์การตลาด #DigitalMarketing #Google #Youtube #ภาษี #VAT #e-Service #ภาษีอีเซอร์วิส
……………………………..
ช่องทางติดตาม
IG : https://www.instagram.com/jinnymarketing/
Twitter : https://twitter.com/JinnyMarketing
Fan page : https://www.facebook.com/jinnymarketing/
Messenger : m.me//jinnymarketing/
Youtube : Youtube : https://bit.ly/3alC9VB